อำนาจหน้าที่
-
Createdวันพุธ, 04 พฤศจิกายน 2563
อํานาจหน้าที่ของเทศบาล ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2543 กําหนดไว้แจ้งชัด
ซึ่งอาจจําแนกที่มาของ อํานาจหน้าที่ดังกล่าวได้คือ
1.อํานาจหน้าที่ตามกฎหมายจัดตั้งเทศบาลกําหนดสามารถแบ่งแยกประเภทอํานาจหน้าที่ของเทศบาลไว้เป็น 2 ส่วน คือ หน้าที่บังคับหรือหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ และ อํานาจหน้าที่ ที่เลือกปฏิบัติ ทั้งยังได้กําหนดอํานาจหน้าที่ของเทศบาลในฐานะต่างๆ ดังนี้ 1.1 หน้าที่บังคับหรือหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ มาตรา 50 ,53 และ 56
มาตรา 52* (ยกเลิกทั้งมาตรา)
มาตรา 53** ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลเมือง มีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
(1) กิจการตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๕๐
(2) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
(3) ให้มีโรงฆ่าสัตว์
(4) ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้
(5) ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
(6) ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ
(7) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
(8) ให้มีการดำเนินกิจการโรงรับจำนำหรือสถานสินเชื่อท้องถิ่น
มาตรา 54* ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลเมือง อาจจัดทำกิจการใด ๆ ในเขตเทศบาล ดังต่อไปนี้
(1) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
(2) ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
(3) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
(4) ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก
(5) ให้มีและบำรุงโรงพยาบาล
(6) ให้มีการสาธารณูปการ
(7) จัดทำกิจการซึ่งจำเป็นเพื่อการสาธารณสุข
(8) จัดตั้งและบำรุงโรงเรียนอาชีวศึกษา
(9) ให้มีและบำรุงสถานที่สำหรับการกีฬาและพลศึกษา
(10) ให้มีและบำรุงสวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
(11) ปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรม และรักษาความสะอาดเรียบร้อยของท้องถิ่น
(12) เทศพาณิชย์
มาตรา 60* เทศบาลมีอำนาจตราเทศบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายในกรณีดังต่อไปนี้
(1) เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามหน้าที่ของเทศบาลที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
(2) เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้เทศบาลตราเทศบัญญัติ หรือให้มีอำนาจตราเทศบัญญัติ
*****ในเทศบัญญัตินั้น จะกำหนดโทษปรับผู้ละเมิดเทศบัญญัติ หรือให้มีอำนาจตราเทศบัญญัติ
- อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเฉพาะอื่น ๆกำหนด
นอกจากอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 กำหนดไว้แล้วยังมีกฎหมายเฉพาะอื่นๆ กำหนดให้เทศบาลมีอำนาจ หน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นๆอีกเป็นจำนวนมาก เช่น
– พระราชบัญญัติป้องกันภยันตราย อันเกิดแก่การเล่นมหรสพ พ.ศ.2464
– พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2534
– พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535
– พระราชบัญญัติควบคุมการใช้อุจจาระทำปุ๋ย พ.ศ.2490
– พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณา โดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493
– พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ.2495
– พระราชบัญญัติป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535
– พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534
– พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าและจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2535
– พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535
– พระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล พ.ศ.2503
– พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508
– พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510
– พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518
– พระราชบัญญัติควบคุมอาหาร พ.ศ.2522
– พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2523
– พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2523
– พระราชบัญญัติรักษาคลองประปา พ.ศ.2526
– พระราชบัญญัติสุสานและณาปนสถาน พ.ศ.2528
– ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 44 ลงวันที่ 11 มกราคม 2502
– ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 68 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2515 (กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการจอดเรือในแม่น้ำลำคลอง)
– ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 (กฎหมายว่าด้วยทางหลวง)
– ประมวลกฎหมายที่ดิน (ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่รกร้างว่างเปล่า
ตามคำสั่ง กระทรวงมหาดไทยที่ 890/2498